ทำไม MAC ถึงเขียนไฟล์บน Thumb Drive ไม่ได้

Rate this item
(0 votes)
ทำไม MAC ถึงเขียนไฟล์บน Thumb Drive ไม่ได้

หลายคนที่ใช้ตระกูล Mac ไม่ว่าจะเป็น Macbook Pro, Macbook air มักจะประสบปัญหา การเขียนไฟล์บน Thumb Drive ทำไมอ่านได้แต่เขียนไฟล์หรือ Copy ไฟล์ลงไปไม่ได้ นั่นก็เนื่องจาก Fotmat ของ Drive หรือ Partition นั้นเป็นแบบ NTFS นั่นเอง

 

ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น เราใช้ Thumb drive บนเครื่องที่เป็น Windows ก็ไม่เห็นจะมีปัญหาอะไรนี่ นั่นก็เพราะ NTFS นั้นเป็น Format ที่เกิดขึ้นมาจาก Microsoft นั่นเอง ซึ่ง Microsoft เป็นผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการ Windows แต่ Mac นั้นใช้ระบบปฏิบัติการของตนเองคือ MacOS เริ่มพอเห็นภาพแล้วใช่มั้ยครับ 

NTFS คืออะไร NTFS ย่อมาจาก NT File System หรือ New Technology File System เริ่มติดค้นจาก Microsoft ตั้งแต่ปี 1993 เพื่อใช้กับ Windows NT 3.1 (บางคนอาจจะไม่ทันนะครับ) เพราะว่าให้ใช้กับ Windows NT นี่เองเลยใช้ชื่อ NT File System นะครับ ถ้าย้อนไปถึงเมื่อก่อนนั้น Windows จะใช้ format ที่เป็น FAT32 ซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องของขนาดไฟล์ที่รองรับได้ไม่เกิน 4GB และรองรับขนาดของ Drive ได้ไม่เกิน 8 TB ครับ ดังนั้นทาง Microsoft จะเลือกใช้ NTFS ที่แก้ปัญหานี้และทำการพัฒนามาเรื่อยๆจนปัจจุบันที่ใช้กับ Windoes 10 เป็น version 3.1 ครับ

คำถามคือแล้วทำไม Mac ถึงไม่ออกแบบมาให้ใช้ Format แบบ NTFS ให้ได้ล่ะ คำตอบง่ายๆครับ เพราะ Mac ก็ใช้ Fotmat ของตัวเองเช่นกัน นั่นคือ MacOS Extended ครับ

แล้วสรุปว่า Mac นั้นรองรับการใช้งาน Format ไหนได้บ้าง มีทั้งหมด 4 Format คือ

1. MacOS Extended (ใช้สำหรับ Mac โดยเฉพาะจะพบปัญหาแบบเดียวกันนี้บน Windows คือ Windows สามารถอ่านไฟล์ได้แต่เขียนไฟล์บน Format นี้ไม่ได้นะครับ)

2. MS-DOS FAT (หรือก็ คือ FAT32 มีข้อเสียตามที่ได้กล่าวไปข้างต้น)

3. ExFat (เป็น Version ใหม่ของ ​FAT ซึ่งพัฒนาขึ้นมารองรับได้ตั้งแต่ Version OS X 10.6.5 ขึ้นไป แก้ปัญหาเรื่องขนาดไฟล์ของ FAT32 ที่รองรับได้แค่ 4 GB)

4. NTFS (รองรับแค่อ่านได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น พบปัญหาอ่านได้แต่เขียนไม่ได้)

แล้ววิธีแก้ปัญหาจะทำยังไง ปัจจุบันมีโปรแกรมที่สร้างมาเพื่อให้อ่าน/เขียนไปยังพาร์ติชัน NTFS ภายใต้การทำงานของ OS X ได้อย่างสมบูรณ์แบบ แต่นั่นก็ต้องซื้อโปรแกรมครับ มีอยู่หลายโปรแกรมนะครับ บางโปรแกรมก็มีให้ลองใช้ฟรีก็ลองโหลดมาเล่นให้พอใจก่อนค่อยซื้อก็ได้ครับ (จริงๆแล้วแบบ Opensource ที่เป็น Third-Party Driver ของฟรีก็มีนะครับแต่ไม่แนะนำเนื่องจากค่อนข้างยุ่งยากในการติดตั้งและมีความเสี่ยงเรื่องของ security ครับ)

แล้วถ้าไม่อยากซื้อจะมีวิธีมั้ย ผมแนะนำให้เปลี่ยนไปใช้ Format ที่เป็น ExFAT นะครับ ExFAT สามารถใช้ได้ทั้งบน Windows และ Mac (OS X 10.6.5+) อย่างสมบูรณ์แบบครับ สิ่งที่ต้องทำก็คือ ทำการ Format Partition/Drive ให้เป็นแบบ ExFAT ครับหลังจากนี้ก็จะสามารถใช้ Drive นี้ข้ามแพลตฟอร์มไปมาได้แล้วครับ หมดปัญหาแล้วก็ไม่เสียค่าใช้จ่ายครับ

หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านนะครับ